Ladymoon : Writer
กระแส คลั่งเกาหลีนำพาความนิยมในวัฒนธรรมของเกาหลีใต้สู่ประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชีย ซึ่งเรียกขานกันว่า “Hallyu” คำๆ นี้เกิดขึ้นในจีน กลางปี 1999 โดยนักข่าวปักกิ่งที่ฮือฮากับคลื่นความนิยมในดาราเกาหลีและสินค้าจากเกาหลี ที่ถาโถมสู่จีน
กระแสคลั่งเกาหลีเริ่มจากละครทีวี อย่างเช่น Winter Sonata และ Jewel in the Palace (แดจังกึม) ที่บุกเข้าสู่ฝั่งตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระแสคลั่งเกาหลีเริ่มขึ้นในปี 1990 จากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลเกาหลี ผู้สร้างต้องผลิตภาพยนตร์ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด นั่นคือจุดกำเนิดของละคร ซึ่งต่อมามีผู้ชมมากมายไม่ใช่แค่ในเกาหลี แต่เป็นทั่วเอเชีย
ความนิยมในตัวนักแสดง นักร้อง และภาพยนตร์จากเกาหลีมีอิทธิพลอย่างสูงและเชื่อมโยงไปถึงวัฒนธรรมด้วย ขณะนี้เกาหลีใต้มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 13 ของโลก และเป็นตลาดภาพยนตร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 บริษัทผู้สร้างสามารถทุ่มเงินในการผลิตเป็นวงเงินสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ใน เอเชีย การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ ก็ใส่แสงสีเสียงเข้าไปอย่างตระการตากันเต็มที่
ที่ สำคัญกว่านั้นทั้งในหนังและละครจะมีการสอดแทรกเรื่องราวของวัฒนธรรมและภูมิ ทัศน์อันงดงามลงไปด้วย ช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงมีคนให้ความสนใจประเทศเกาหลีเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านภาษา อาหารการกิน แม้แต่ชุดฮันบก ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของเกาหลี ความสำเร็จดังกล่าวทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลลิปปินส์ ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียตนาม
นอกจากดาราฮอลีวู้ดแล้ว ดาราดังของเกาหลีกลายเป็นดาราที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก อย่างเช่น เบยองจุน จาก Winter Sonata ปัจจุบันมีค่าตัวอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเหรียญดอลลาร์ต่อเรื่อง ถือว่าสูงที่สุดในเอเชีย ถ้าไม่นับเฉินหลงและเจ็ต ลี ซึ่งได้รับค่าตัวสูงถึง 14 ล้านเหรียญดอลลาร์ในเรื่อง Warlords อย่างน้อยๆ มีนักแสดงเกาหลีอีก 9 คนที่ทำรายได้สูงถึง 10 ล้านดอลลาร์ต่อปี
ศิลปินจากเกาหลีที่ขายดีใน ตลาดนานาชาติก็คือ โบอา (BoA) ดูจากความนิยมของเธอในตลาดญี่ปุ่น แล้วก็ยังมี ชินวา ทงบังชินกิ และซูเปอร์จูเนียร์ด้วย เมื่อปี 2001 มีนักวิจารณ์ทำนายเอาไว้ว่ากระแสคลั่งเกาหลีจะซาลง แต่มันกลับตรงกันข้ามกับคำทำนาย กระแสคลั่งเกาหลียังแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ในปี 2003
0 comments:
Post a Comment